วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน

1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะในปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์นั้นมีการบริโภคแบบว่ามีอะไรที่อยู่ตรงหน้าก็จะต้องกินให้หมด มักจะไม่คิดผลที่ตามมาที่หลังว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา ที่ว่าอาหารที่บริโภคเข้าไปนั้นจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไรกับตัวของเรา หวังแค่อย่างเดียวก็คือว่าจะต้องบริโภคให้อิ่ม เท่านั้นก็สบายใจแล้ว

2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
มีบ้างแต่น้อยมากที่จะมีปฏิทินการออกกำลังกายแบบนี้ แต่จะมีบ้างในตอนเย็นที่มีการออกกำลังกายบ้างในเวลาเลิกเรียน

3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
การควบคุมอารมณ์หรือการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัยของเด็กว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ในการควบคุม แต่จะเห็นเป็นสานมากเด็กที่มีอายุน้อยนั้นมักควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้สักเท่าไร แต่ถ้าเด็กโตขึ้นมาอีกก็ควบคุมอารมณ์ได้สักนิด

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนั้นยังน้อยกว่า การส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมุ่งให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถจนบางทีลืมคิดไปว่าการสงเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นอาจจะยังน้อยไป ดั้งนั้นควรที่จะให้ความสัมคัญให้เท่าเทียมกัน เพื่อรักษาความสมดุลของเด็ก

5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
การที่ครูจะทำความรู้จักกับนักเรียนควรทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆไม่ใช้แค่ใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์จะแยกคนที่มีความเสี่ยงออกมาได้ ส่วนคนที่ครูรู้และทราบประวัติเบื้องต้นถึงเด็กที่มีปัญหาแน่นอนว่าครูย่อมที่จะหาทางช่วยเหลือ หากตัวข้าพเจ้าเองได้เป็นครูจะมีแนวทางช่วยเหลือคือ คนที่มีผลการเรียนอ่อนจะจัดให้อยู่กับกลุ่มคนที่ได้ผลการเรียนดีๆ คนที่สุขภาพไม่ดีครอบครัวมีปัญหาก็จะช่วยอย่างเช่นเสนอชื่อขอรับทุนการศึกษาในโอกาสต่างๆพร้อมให้คำปรึกษาที่จะหาทางแก้ไขต่อไป ส่วนคนที่ได้ผลการเรียนดีนั้นหากจะลดความเสี่ยงเรื่องความเครียดนั้นคิดว่าควรที่จะให้ทำกิจกรรมกับเพื่อนมากๆให้คอยเป็นหูเป็นตาให้กับครูและช่วยเหลือเพื่อนอยู่เสมอ และคอยสั่งสอนว่าวันหนึ่งผลการเรียนอาจตกลงมาได้เป็นเรื่องที่ควรยอมรับไม่ต้องคิดมากทำชีวิตให้สนุกไว้ดีกว่า

6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดูแลช่วยเหลือเด็กและวิธีการให้เด็กนักเรียนมาช่วยงานก็เป็นวิธีที่ดีมากที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดกับครูหากตัวข้าพเจ้าเป็นครูก็จะนำวิธีนี้ไปปรับใช้เช่นกัน

7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
ไม่มีความจริงจังมากนัก ดิฉันคิดว่าครูจะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาเช่น การให้ฝึกสมาธิก่อนการเรียนการสอน การเข้าค่ายจริยธรรม และอื่นๆ

8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
การประเมินด้านสุขภาพกายและจิตใจมีบ้างแต่มีน้อย ทางควรมีหาวิธีการต่าๆงมาใช้ เช่นการออกกำลังกายตอนเช้าที่หน้าเสาธงเป็นประจำทุกวันเป็นการช่วยให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตั้งแต่เช้า

9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
ไม่มีการประเมินที่เป็นแบบมาตรฐานมากนัก มีแค่ครูที่สังเกตอยู่ เช่นการให้ บอกสภาพบรรยากาศของห้องเรียนของโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัยของเด็กว่ามีสภาพอย่างไรตามความรู้สึกของเด็กหากพบว่าเด็กมีความคิดเห็นอย่างเช่นว่า ห้องเรียนไม่ค่อยน่าอยู่ก็จะช่วยกันตกแต่งใหม่ให้ดูมีบรรยากาศที่น่าเรียนยิ่งขึ้นและปลูกจิตสำนึกในการดูแลชุมชนด้วยอีกทางหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น