วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก “หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้”

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เวลา 3 คาบ
วิชา สังคมศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

สาระสำคัญ
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ทั้งกระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมาย ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ได้
2. จำแนกประเภทของเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาคได้
3. วิเคราะห์รูปแบบของเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริงและที่ควรจะเป็นได้
4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ได้

เนื้อหา
1.เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ Economics และ Economikos
3.ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4.การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
5.ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำ
1. ให้นักเรียนสำรวจตัวเองว่าเคยซื้อสินค้า เครื่องใช้ในการเรียนอะไรบ้าง
2. ครูแจ้งจุดประสงค์
3. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

ขั้นกิจกรรม
1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 – 7 คน
2.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาความหมายของเศรษฐศาสตร์จากแบบเรียน
3.ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมากเสนอความหมายของเศรษฐศาสตร์
4.ให้นักเรียนทุกกลุ่มช่วยกันสรุปความหมายของเศรษฐศาสตร์
5.ครูช่วยเพิ่มเติมความหมายของเศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6.นักเรียนแลกแต่ละคนปฏิบัติตามใบงานที่ 1
8.นักเรียนและเปลี่ยนใบงานกัน แล้วตรวจตามคำเฉลยของครู
9.นักเรียนจดบันทึกความรู้ที่ได้รับลงสมุด

ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลจากกิจกรรม
1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวันของนักเรียน
2. ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
3. ครูชมเชยถึงกระบวนการทำงานกลุ่ม

ขั้นสรุปผลและอภิปรายผล
1. นักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนทำแบบทอสอบ
3. นักเรียนและเปลี่ยนกระดาษคำตอบแล้วตรวจตามคำเฉลยของครู

สื่อและอุปกรณ์การสอน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4. ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
5. ใบงาน เรื่องความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนควรศึกษาการใช้จ่าย การบริโภคสินค้า ต่าง ๆ

การวัดผลและประเมินผล
1. วิธีวัด
1.1 ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
1.2 การทำงานกลุ่ม
1.3 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ของกลุ่ม
1.4 ทดสอบ
2. เครื่องมือวัด
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
2.3 แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2.4 ใบงาน

ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือก ( choice ) โดยเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เศรษฐศาสตร์เป็นการจัดสรรทรัพยากรหรือสินค้าและบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ โดยดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เพื่อให้ได้ผลผลิต ( output ) ที่เหมาะสม นักเศรษฐศาสตร์ ได้ให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันดังนี้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงความมั่งคั่ง ( Wealth )”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการปรับปรุงสังคมและทำให้เกิดอารยธรรมอันดี”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงระบบเงินตรา การธนาคาร การลงทุน และทรัพย์สิน หรือ ความมั่งคั่งต่าง ๆ
จากที่กล่าวมา เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการผลิต ซึ่งมีปัจจัยประกอบด้วย ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ และ เป็นกระบวนการกระจายสินค้า และ บริการ หรือ ปริวรรตกรรม ( Distribution) ที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมมากที่สุด จากคำจำกัดความ อาจให้คำนิยามได้ดังนี้
“เศรษฐศาสตร์ (Economics) คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดและหายากในการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ รวมถึงการกระจายสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดและเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในปัจจุบันและอนาคต”

เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ
1. เศรษฐศาสตร์ จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมในระดับหน่วยเช่นโรงงานหนึ่ง, บริษัทหนึ่ง, ห้างหุ้นส่วนหนึ่ง, ผู้ขายรายหนึ่ง, ตลาดแห่งหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยเศรษฐกิจในสังคมนั้นที่ประกอบขึ้นเป็นรายได้ ศึกษาถึงการรักษาเสถียรภาพของราคา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ใบความรู้ที่ 2
เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่หายากและมีจำกัด เพื่อทำการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ กระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดในปัจจุบันและอนาคต เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การแก้ปัญหา จะต้องใช้เศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับจุภาค เศรษฐศาสตร์ช่วยให้เข้าใจบทบาท และ พฤติกรรมการดำรงชีวิตของแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจ ในฐานะ ผู้บริโภค , ผู้ผลิต , คนกลาง , เจ้าของปัจจัยการผลิต ถ้าเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้
2. ระดับมหภาค ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ เมื่อได้ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจสภาพข้อเท็จจริงของปัญหา ความสัมพันธ์และผลกระทบ แนวทางแก้ไข สามารถเลือกวิธีการทีทำให้บรรลุนโยบายเศรษฐกิจได้ถูกต้อง ไม่มีผลกระทบทางอ้อมที่เสียหาต่อเศรษฐกิจ
3. สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว มีเสถียรภาพที่มั่นคง ไม่ขึ้นลงผันผวน เศรษฐศาสตร์ช่วยในการทำให้เกิดการขยายตัวหรือที่เรียกว่าการพัฒนาและการขยายตัวต้องมีเสถียรภาพ ไม่เป็นอันตรายกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการกู้ยืม การผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่นประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาแล้วหลายแผน การขยายตัวหรืออัตราการพัฒนา ต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดมาตรการและนโยบาย
สรุป ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดแต่สินค้าและบริการหรือทรัพยากรนั้นมีจำกัดและหายาก จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงการเลือกกรรมวิธีในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกและประสิทธิภาพก็คือเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์

ใบความรู้ที่ 3
เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์
การศึกษาเศรษฐศาสตร์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค มีแนวทางการวิเคราะห์อยู่สองแบบ คือ
1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ตามข้อเท็จจริงตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจว่าคืออะไร (What is) เท่านั้นจะไม่คำนึงถุงเป้าหมายทางสังคมว่าเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ ไม่คำนึงถึงจริยธรรม หรือ ค่านิยมทางสังคม เช่น โรงงานน้ำตาล ทำให้น้ำเน่าเสีย ก็จะศึกษาเพียงว่าการเน่าเสียของน้ำก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนเท่าใด จะไม่เสนอแนะว่าควรแก้ไขอย่างไรควรปิดโรงงานหรือไม่
2. เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น เป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ ที่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม วิเคราะห์ผลดี - ผลเสีย แนวทางแก้ไขควรทำอย่างไร โดยนำเอา จริยธรรม ค่านิยม และแนวคิดทางสังคมมาพิจารณากำหนดแนวทางว่าควรจะเป็นเช่นใด (What ought to be) เช่น ศึกษากรณีโรงงานน้ำตาลทำให้น้ำเน่าเสีย วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แล้วว่าเกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเท่าไร แล้วยังเสนอว่าควรสร้างระบบกำจัดน้ำเสีย หรือย้ายโรงงานไปตั้งที่อื่น หรือปิดโดรงงาน โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ
เนื่องจากเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านการผลิตและการบริโภค เพื่อหาทางให้มนุษย์อยู่ดีกินดี วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น
1. นิติศาสตร์ เช่นกฎหมายควบคุมราคาสินค้าหรือ ลิขสิทธิ์สินค้าต่าง ๆ
2. รัฐศาสตร์ การปกครองประเทศ ถ้าประชาชนอยู่ดีกินดีบ้านเมืองก็สงบสุข รัฐบาลต้องแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจะได้มีความสงบสุข โดยใช้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์
3. บริหารธุรกิจ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้นักธุรกิจตัดสินใจลงทุนและแก้ปัญหาภายในการบริหารธุรกิจในบริษัทนั้น ๆ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯ ลฯ เช่นการสร้างอาคารเรียนต้องมุ่งประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสวยงาม เพราะในแง่เศรษฐศาสตร์ที่ดินอาจมีราคาแพง

กิจกรรมที่10

1) กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งกัมพูชากับไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา มีพื้นที่ซ้อนทับกันทำให้เกิดปัญหาทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อน มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมีบางมุมที่ส่งผลดี แต่เสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้นนั่นเอง ในบริเวณดังกล่าว และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน

2) กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย

เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดในประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น นั้นก็คือฝ่ายไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา(ไทย)ต้องการโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน

3) กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร

ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการเรื่องเขตแดน
ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไป ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป็นของตน แต่เมื่อมีการออกมาท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อย แล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย
สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง 2 ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการเขตแดน ไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ


4) กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์ (นายพนิต) ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน นายตายแน่ มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น

จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราะดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่
ดังนั้น รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย มิฉะนั้นอีกไม่นานดินแดนประเทศไทยจะถูกรุกรานไปเรื่อยๆ

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่9

โทรทัศน์ครูเรื่อง คีรีวง ดินแดนสหวิชา
ประเด็นสำคัญ ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนโทรทัศน์ครูเรื่อง คีรีวง ดินแดนสหวิชา
ชมการวางแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา(ชุมชนบ้านคีรีวง)จังหวัดนครศรีธรรมราชเน้นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของนักเรียนกับธรรมชาติของท้องถิ่น และจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ในเรืองนี้จะสอนเกี่ยวกับการทำผ้าลายเทียน

หากไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร
ครูต้องเป็นผู้ที่มีการวางแผนที่ดี มีความรู้และประสบการณ์ในเรืองที่จะสอน มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้หลายด้าน และมีอัธยาศัยที่ดี และควรปลูกฝั้งให้เด็กนั้นรักถิ่นฐานเกิดของตน และรักธรรมชาติ เช่นใน วีดีทัศน์เรื่องคีรีวง ดินแดนสหวิชา สอนให้เด็กได้คิดได้เรียนร็ด้วยตนเอง มีการตั้งคำถาม ถามในสิ่งที่ไม่รู้ ให้นักเรียนมีโอกาสเข้าไปศึกษาในสถานที่จริงมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้กับคนในชุมชน และครูก็เป็นผู้คอยชี้แนะชี้นำให้นักเรียนเข้าใจ และควรที่จะสอนควรที่จะบอกให้นักเรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
นำรูปแบบวิธีการสอนมาเป็นแนวทางในการสอน และจะมีการปรับนำมาใช้ให้เหาะสมกับตัวเรา และจะต้องมีความถนัด มีเทคนิคและวิธีการสอน ที่จะต้องดึงดูดให้ผู้เรียนมีความสนใจ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ในสิ่งที่เราจะสอนนั้นให้เด็กนักเรียนได้เข้าใจในสิ่งที่เราสอน

กิจกรรมที่ 8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์การนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล ของ กลุ่ม ขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ เทคโนโลยี สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20
ทฤษฎี เป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบ ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบโดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
จะเห็นได้ว่าหากผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างมีความชัดเจน วัฒนธรรมดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและได้รับการดูแลให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ในขณะที่ผู้นำซึ่งมีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การแต่ยังไม่มีความชัดเจนในวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างขึ้น กรณีนี้ผู้นำจะให้ความสนใจต่อการกำหนดทิศทางของ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
กรณีศึกษาของประเทศไทย
สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสีย ไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน

กิจกรรมที่ 7

การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

ปัญหา อย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุม ชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนัก เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับ ว่าเป็น “ครูมืออาชีพ”
ดังนั้น “ครูมืออาชีพ” จึง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้น เรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญ และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่ง เพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้าง สรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่ง เสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียนนักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การ แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่ กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพ ของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้ อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
2. หลักความยุติธรรม ครู ควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ใน การปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1.ใครู จะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครู จะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความเป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครู จะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวล
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอด คล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

กิจกรรมที่6

สรุปมาตรฐานวิชาชีพและการนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
ทุก วิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ การที่องค์กรด้านวิชาชีพด้านต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้ เห็นความสำคัญของอาชีพนั้นๆ และเพื่อการให้มีอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
สำหรับ วิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ

มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุดวิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึง ได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้าง สรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการ ศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ(มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมาย ถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
พื้นฐานและแนวคิด

โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้
ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิคุณภาพ
คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็น มาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
มาตรฐาน วิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตาม บริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญ ของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
- สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน

การนำไปประยุกต์ใช้
การ ใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วยเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพ ครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพ คุรุสภา
มาตรฐาน วิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครูหรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพโดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นตัวชี้วัดหรือ ประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพตรมมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและ จรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในวิชาชีพของผู้ปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมี คุณภาพสูงสุด