ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
การส่งงานแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี ที่จะนำเอาเป็นแบบอย่างในใช้ เพราะว่าการส่งงานผ่านบล็อกนี้มีความสะดวกและยังจะฝึกฝนให้เรานั้นได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน รวมทั้ยังได้ความรู้ในการทำกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมด้วย
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบล็อก การนำรูปภาพ นำนาฬิกา ปฎิทิน การใส่ภาพสไลด์ และอีกมากมาย และสิ่งเหล่านี้ที่เรียนรู้มานั้นนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มีความสะดวกสบายมาก และยังเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยในการเรียนการสอนและมีความรวดเร็วในการใช้งาน
วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การสอบครั้งที่ 2
ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1.Classroom Management การบริหารการจัดการในชั้นเรีย การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชั้นเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครู ให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นัดเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.Happiness Classroom การจัดการชั้นเรียนให้มีความสุข เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Lifelong Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4.Formal Education การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน
5.Non - Formal Education การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
6. e-Learning การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น
7.graded การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8.Policy education นโยบายการศึกษา ค หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ
9. Vision พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ
10.Mission ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
11.Goal เป้าหมาย สิ่งที่เป็นตัวกำหนดความต้องการ จุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งองค์กรต้องการที่จะได้รับ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และวางแผนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จยังจุดที่ตั้งใจไว้ได้ ภายในขอบเขตเวลาที่กำหนดไว้
12. Objective เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้
14. Effectiveness ความมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงว่าเก่ง จนทำบรรลุเป้าชนะในตลาดภายนอกได้ ซึ่งควรต้องมีประสิทธิภาพภายในด้วย
15. Efficiency ความีประสิทธิภาพ ทำงานได้เก่งขน อาจประหยัดต้นทุน หรือออผลผลิตเพิ่มก็ได้
16. Economy การศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity ความเสมอภาพ
18. Empowerment การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถการอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้
19. Engagement การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project วิธีทำงานที่เป็นระบบขั้นตอนเพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ให้สำเร็จ
21. Activies การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22. Leadership ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการนำ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
23. Leaders ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้หน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
24. Follows ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness การรู้จักตน การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness พฤติกรรมการกล้าแสดงออก ง ความสามารถในการแสดงออกด้านการคิด การพูด การกระทำ ซึ่งรวมถึงอารมณ์ความรู้สึก ทั้งนี้ ความสามารถในการแสดงออกดังกล่าวของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยไม่ไปก้าวก่ายหรือล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และที่สำคัญ เมื่อเจ้าตัวแสดงออกไปแล้วจะต้องไม่รู้สึกผิดด้วย
29. Time management การบริหารเวลา การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลา ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งเวลา โดยจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวันเวลาที่กำหนด
30. POSDCoRB หน่วยงาน อาจจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มคนที่มารวมตัวกัน ภายใต้โครงสร้าง โดยมีเป้าหมายบางสิ่งบางอย่าง ที่ต้องการให้บรรลุ
31. Formal Leaders ผู้นำแบบเป็นทางการ ผู้นำที่มีการแต่งตั้งขึ้น โดยอาจผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานหรือผู้บริหารในองค์กร จึงมีหน้าที่ดำเนินการโดยบทบาทและกฎระเบียบของหน่วยงาน
32. Informal Leaders ผู้นำแบบไม่เป็นทางการผู้นำที่ไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือมีหน้าที่ในเชิงของการบริหาร หรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา แต่กลับได้รับการยกย่องหรือมีการยอมรับให้เป็นผู้นำ จากเพื่อนหรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ซึ่งบุคคลนั้นอาจมีคุณสมบัติบางอย่างวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ นิสัยใจคอ ที่ก่อให้เกิดผู้นำแบบไม่เป็นทางการขึ้น
33. Environment สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization การให้ความหมายของโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ความหมายของโลกาภิวัตน์ก็เป็นปัญหาในการให้ความหมายในตัวของมันเอง และด้วยเหตุนี้จึงมีบ่อยครั้งที่การใช้คำว่าโลกาภิวัตน์มีการใช้อย่างคลาดเคลื่อนอย่างไม่ระมัดระวังตามความเข้าใจของผู้ที่ใช้
33. Competency สมรรถนะ ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าคนอื่น เป็นต้น
34. Organization Cultural วัฒนธรรมองค์การ ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ
35. Individual Behavior พฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ คือการรับรู้(Perception)ทัศนคติ (Attitudes)ค่านิยม (Values) การจูงใจ (Motivtion)
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม “บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกัน และมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน”
39. Six Thinking Hats เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
40. Classroom Action Research การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่น ๆ การศึกษาปัญหาลักษณะนี้
1.Classroom Management การบริหารการจัดการในชั้นเรีย การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชั้นเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครู ให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นัดเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.Happiness Classroom การจัดการชั้นเรียนให้มีความสุข เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Lifelong Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4.Formal Education การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน
5.Non - Formal Education การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
6. e-Learning การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น
7.graded การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8.Policy education นโยบายการศึกษา ค หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ
9. Vision พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ
10.Mission ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
11.Goal เป้าหมาย สิ่งที่เป็นตัวกำหนดความต้องการ จุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งองค์กรต้องการที่จะได้รับ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และวางแผนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จยังจุดที่ตั้งใจไว้ได้ ภายในขอบเขตเวลาที่กำหนดไว้
12. Objective เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้
14. Effectiveness ความมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงว่าเก่ง จนทำบรรลุเป้าชนะในตลาดภายนอกได้ ซึ่งควรต้องมีประสิทธิภาพภายในด้วย
15. Efficiency ความีประสิทธิภาพ ทำงานได้เก่งขน อาจประหยัดต้นทุน หรือออผลผลิตเพิ่มก็ได้
16. Economy การศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity ความเสมอภาพ
18. Empowerment การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถการอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้
19. Engagement การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project วิธีทำงานที่เป็นระบบขั้นตอนเพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ให้สำเร็จ
21. Activies การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22. Leadership ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการนำ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
23. Leaders ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้หน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
24. Follows ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness การรู้จักตน การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness พฤติกรรมการกล้าแสดงออก ง ความสามารถในการแสดงออกด้านการคิด การพูด การกระทำ ซึ่งรวมถึงอารมณ์ความรู้สึก ทั้งนี้ ความสามารถในการแสดงออกดังกล่าวของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยไม่ไปก้าวก่ายหรือล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และที่สำคัญ เมื่อเจ้าตัวแสดงออกไปแล้วจะต้องไม่รู้สึกผิดด้วย
29. Time management การบริหารเวลา การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลา ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งเวลา โดยจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวันเวลาที่กำหนด
30. POSDCoRB หน่วยงาน อาจจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มคนที่มารวมตัวกัน ภายใต้โครงสร้าง โดยมีเป้าหมายบางสิ่งบางอย่าง ที่ต้องการให้บรรลุ
31. Formal Leaders ผู้นำแบบเป็นทางการ ผู้นำที่มีการแต่งตั้งขึ้น โดยอาจผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานหรือผู้บริหารในองค์กร จึงมีหน้าที่ดำเนินการโดยบทบาทและกฎระเบียบของหน่วยงาน
32. Informal Leaders ผู้นำแบบไม่เป็นทางการผู้นำที่ไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือมีหน้าที่ในเชิงของการบริหาร หรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา แต่กลับได้รับการยกย่องหรือมีการยอมรับให้เป็นผู้นำ จากเพื่อนหรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ซึ่งบุคคลนั้นอาจมีคุณสมบัติบางอย่างวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ นิสัยใจคอ ที่ก่อให้เกิดผู้นำแบบไม่เป็นทางการขึ้น
33. Environment สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization การให้ความหมายของโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ความหมายของโลกาภิวัตน์ก็เป็นปัญหาในการให้ความหมายในตัวของมันเอง และด้วยเหตุนี้จึงมีบ่อยครั้งที่การใช้คำว่าโลกาภิวัตน์มีการใช้อย่างคลาดเคลื่อนอย่างไม่ระมัดระวังตามความเข้าใจของผู้ที่ใช้
33. Competency สมรรถนะ ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าคนอื่น เป็นต้น
34. Organization Cultural วัฒนธรรมองค์การ ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ
35. Individual Behavior พฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ คือการรับรู้(Perception)ทัศนคติ (Attitudes)ค่านิยม (Values) การจูงใจ (Motivtion)
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม “บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกัน และมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน”
39. Six Thinking Hats เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด
40. Classroom Action Research การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่น ๆ การศึกษาปัญหาลักษณะนี้
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การสอบ
การสอบ
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom managemant เป็นการบริหารการจัดการในชั้นเรียนของครูผู้สอน โดยการสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล การเตรียมการชั้นเรียน การจูงใจนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย และเหมาสมกับวัยของนักเรียน การจัดสภาพการเรียนทางบวก การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ และที่สำคัญควรที่จะเอาใจใส่กับเด็กทุกคนให้มีสิทธิเท่าเทียม เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความเอารัดเอาเปรียบกัน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
มาตรฐานความรู้
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมี ความรู้ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุ สภากำหนด
ดังนี้
1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
2. การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่ องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุม ปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การเลือกอย่าง ชาญฉลาด ด้วยความรัก และหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและ กิจกรรมอื่น ๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครูที่จะให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริม พัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุง หรือ สร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือเตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้จัด กิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการ ปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็น บุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนา ผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ ปัจจัย และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
1) ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน
2) เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนดที่เกิดกับผู้เรียน
4) ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน หมายถึง การแสดงออก การประพฤติ และปฏิบัติใน ด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเป็นแบบอย่าง
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
การร่วมมือกับผู้อื่นในสถาศึกษาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟัง ความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ นั้น
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟังความ คิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางาน ของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความ เต็มใจ
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำและรวบรวม ข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถ วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และ พัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการนำเอาปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียนมากำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร เป็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่งที่จะนำเอาวิกฤติต่าง ๆ มาเป็นโอกาศในการพัฒนา ครูจำเป็นต้อง มองมุมต่าง ๆ ของปัญหาแล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนา ของผู้เรียน ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติใน การแก้ปัญหา มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมใน ทุก ๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
มาตรฐานการปฎิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
จรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
1.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ ศิษย์และผ้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดี งามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
3.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย วาจา สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
4.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกี้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักในการจัดชั้นเรียนคือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ควรคำนึงถึงหลักในการจัดชั้นเรียน ดังนี้มีความยืดหยุ่นคือ
1.เสริมสร้างความรู้ทุกด้าน
2.มีสภาพแวดล้อมที่ดี
3.เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงามและสร้างความเป็นระเบียบ
4.สร้างเสริมประชาธิปไตย
5.เอื้อต่อหลักสูตร
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนจะต้องจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนจะต้องมีปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน และยกระดับมาตรฐานโรงเรียนให้สูงขึ้น จัดสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ บริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และยังช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายเมื่อเวลาที่เรียนมาเหนื่อยๆ และในการจัดนั้นควรที่จะให้เด็กเข้ามีส่านร่วมด้วยในการทำ
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย มีการจัดบรรยากาศภายในอาคารเรียนให้เกิดความสะอาด ความร่มรื่น ความสวยงาม ความปลอดภัย และความสะดวก มีการตกแต่งที่สวยงาม มีแสงสว่างเพียงพอ ประตูหน้าต่างอยู่ในสภาพดีมีอุปกรณ์ยึดมั่นคง ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี มีการดูแลสภาพสีของอาคารให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อย มีป้ายชื่อบอกอาคารและห้องต่างๆ มีความเป็นระเบียบมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนการรักษาความปลอดภัยในอาคารเรียนจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยอาคารเรียนมีผู้รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษร มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัย การควบคุม และติดตามการรักษา ความปลอดภัยอาคารเรียน การฝึกอบรมวิธีการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
1. มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
2.มีความซื่อสัตย์สุจริต
3.มีความกตัญญูกตเวที
4.มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวมประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
5. ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
1.รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
1.มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
2. เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
1.สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมี การคิดแบบองค์รวม
2.สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
3.ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
1.มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
2.มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
3.สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
4.สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
2.สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
3.มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมา โรงเรียน
ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
1.มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2.มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
3. ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
4. มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
1.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
2.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
3.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
การให้นักศึกษาได้ค้นพบคุณธรรม จริยธรรมจากประสบการณ์ตรง
1.การนำนักศึกษาไปศึกษาและปฏิบัตินอกสถานที่ และตั้งจุดมุ่งหมายของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
1.1การปฏิบัติธรรม เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้การฝึกสมาธิ และสาระที่จะได้จากการฟังธรรม ส่วนเด็กมุสลิมก็ไปฟังเช่นกันจากผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาและยังได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและมัสยิด เช่น การทำความสะอาด การบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เป็นต้น
1.2 การปลูกป่า ซึ่งทำทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น โครงการปลูกป่าชายเลนร่วมกับกองทัพเรือ เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อวัฏจักรของชีวิตอันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษารักและหวงแหนธรรมชาติต่อไป
¬ 1.3การชื่นชมสุนทรียะจากงานศิลป์ ตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญ เพื่อปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในมรดกของชาติที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
2 การเชิญบุคคลต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรมมาให้ข้อคิดกับ นักเรียนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนได้กำหนดถึงความเหมาะสมของบุคคลต้นแบบ โดยไม่ได้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องเป็นคน ที่มีชื่อเสียง โด่งดังระดับชาติ แต่เป็นใครก็ได้ที่สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักการที่ว่า “แบบที่ดี เป็นสื่อการสอนที่วิเศษสุด”
3 การศึกษาจากบุคคลตัวอย่างที่ต้องกำหนดให้หลากหลายอาชีพ เช่น แม่ค้าขายไข่ปิ้ง คนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้ไปพูดคุยกับคนเหล่านั้น พร้อมทั้งเก็บหลักฐานและข้อมูลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและส่งผู้สอนเพื่อประเมินผล กิจกรรมนี้ เน้นให้นักศึกษาค้นพบคุณธรรม จริยธรรมและวิสัยทัศน์ที่เป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ความสุขตามจากบุคคลตัวอย่างที่ไปศึกษา
นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom managemant เป็นการบริหารการจัดการในชั้นเรียนของครูผู้สอน โดยการสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล การเตรียมการชั้นเรียน การจูงใจนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย และเหมาสมกับวัยของนักเรียน การจัดสภาพการเรียนทางบวก การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ และที่สำคัญควรที่จะเอาใจใส่กับเด็กทุกคนให้มีสิทธิเท่าเทียม เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความเอารัดเอาเปรียบกัน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
มาตรฐานความรู้
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมี ความรู้ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุ สภากำหนด
ดังนี้
1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
2. การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่ องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุม ปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การเลือกอย่าง ชาญฉลาด ด้วยความรัก และหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและ กิจกรรมอื่น ๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครูที่จะให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริม พัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุง หรือ สร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือเตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ ที่สามารถนำไปใช้จัด กิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการ ปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็น บุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ หมายถึง การรายงานผลการพัฒนา ผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ ปัจจัย และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้
1) ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน
2) เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนดที่เกิดกับผู้เรียน
4) ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน หมายถึง การแสดงออก การประพฤติ และปฏิบัติใน ด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเป็นแบบอย่าง
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
การร่วมมือกับผู้อื่นในสถาศึกษาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟัง ความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ นั้น
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟังความ คิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางาน ของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความ เต็มใจ
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำและรวบรวม ข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถ วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และ พัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ หมายถึง การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการนำเอาปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียนมากำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร เป็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่งที่จะนำเอาวิกฤติต่าง ๆ มาเป็นโอกาศในการพัฒนา ครูจำเป็นต้อง มองมุมต่าง ๆ ของปัญหาแล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนา ของผู้เรียน ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติใน การแก้ปัญหา มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมใน ทุก ๆ โอกาส มองเห็นแนวทางที่นำสู่ผลก้าวหน้าของผู้เรียน
มาตรฐานการปฎิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
จรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
1.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ ศิษย์และผ้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดี งามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
3.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย วาจา สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
4.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกี้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักในการจัดชั้นเรียนคือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ควรคำนึงถึงหลักในการจัดชั้นเรียน ดังนี้มีความยืดหยุ่นคือ
1.เสริมสร้างความรู้ทุกด้าน
2.มีสภาพแวดล้อมที่ดี
3.เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงามและสร้างความเป็นระเบียบ
4.สร้างเสริมประชาธิปไตย
5.เอื้อต่อหลักสูตร
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนจะต้องจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนจะต้องมีปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน และยกระดับมาตรฐานโรงเรียนให้สูงขึ้น จัดสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ บริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และยังช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายเมื่อเวลาที่เรียนมาเหนื่อยๆ และในการจัดนั้นควรที่จะให้เด็กเข้ามีส่านร่วมด้วยในการทำ
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย มีการจัดบรรยากาศภายในอาคารเรียนให้เกิดความสะอาด ความร่มรื่น ความสวยงาม ความปลอดภัย และความสะดวก มีการตกแต่งที่สวยงาม มีแสงสว่างเพียงพอ ประตูหน้าต่างอยู่ในสภาพดีมีอุปกรณ์ยึดมั่นคง ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี มีการดูแลสภาพสีของอาคารให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อย มีป้ายชื่อบอกอาคารและห้องต่างๆ มีความเป็นระเบียบมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนการรักษาความปลอดภัยในอาคารเรียนจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยอาคารเรียนมีผู้รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษร มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัย การควบคุม และติดตามการรักษา ความปลอดภัยอาคารเรียน การฝึกอบรมวิธีการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
1. มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
2.มีความซื่อสัตย์สุจริต
3.มีความกตัญญูกตเวที
4.มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวมประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
5. ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
1.รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
1.มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
2. เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
1.สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมี การคิดแบบองค์รวม
2.สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
3.ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
1.มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
2.มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
3.สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
4.สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
2.สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
3.มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมา โรงเรียน
ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
1.มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2.มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
3. ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
4. มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
1.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
2.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
3.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
การให้นักศึกษาได้ค้นพบคุณธรรม จริยธรรมจากประสบการณ์ตรง
1.การนำนักศึกษาไปศึกษาและปฏิบัตินอกสถานที่ และตั้งจุดมุ่งหมายของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
1.1การปฏิบัติธรรม เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้การฝึกสมาธิ และสาระที่จะได้จากการฟังธรรม ส่วนเด็กมุสลิมก็ไปฟังเช่นกันจากผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาและยังได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและมัสยิด เช่น การทำความสะอาด การบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เป็นต้น
1.2 การปลูกป่า ซึ่งทำทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น โครงการปลูกป่าชายเลนร่วมกับกองทัพเรือ เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อวัฏจักรของชีวิตอันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษารักและหวงแหนธรรมชาติต่อไป
¬ 1.3การชื่นชมสุนทรียะจากงานศิลป์ ตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญ เพื่อปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในมรดกของชาติที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
2 การเชิญบุคคลต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรมมาให้ข้อคิดกับ นักเรียนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนได้กำหนดถึงความเหมาะสมของบุคคลต้นแบบ โดยไม่ได้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องเป็นคน ที่มีชื่อเสียง โด่งดังระดับชาติ แต่เป็นใครก็ได้ที่สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักการที่ว่า “แบบที่ดี เป็นสื่อการสอนที่วิเศษสุด”
3 การศึกษาจากบุคคลตัวอย่างที่ต้องกำหนดให้หลากหลายอาชีพ เช่น แม่ค้าขายไข่ปิ้ง คนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้ไปพูดคุยกับคนเหล่านั้น พร้อมทั้งเก็บหลักฐานและข้อมูลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและส่งผู้สอนเพื่อประเมินผล กิจกรรมนี้ เน้นให้นักศึกษาค้นพบคุณธรรม จริยธรรมและวิสัยทัศน์ที่เป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ความสุขตามจากบุคคลตัวอย่างที่ไปศึกษา
นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมที่
กิจกรรมที่ 14
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
Mind Map เป็นแผนผัง (Diagram) ใช้เพื่อแสดงคำหรือแนวความคิดของมนุษย์ที่แผ่ออกออกจากศูนย์กลาง ใช้การสื่อความหมายด้วยข้อความและรูปภาพคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้. Mind Map ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจุดกำเนิดหรือจุดเริ่มต้นในการทำงานต่างๆ,การจินตนาการ
Mind Map ช่วยทำให้สิ่งต่างๆ มองภาพได้ง่ายขึ้น อาทิ
• สร้างจากสิ่งที่เป็นนามธรรมสู่รูปธรรม
• ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
• ใช้แก้ปัญหาปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
• ใช้ในการทำการตัดสินใจกรณีมีทางเลือกหลายๆ ทาง
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map ) การ เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats) เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้ คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
ตัวอย่างเช่น วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลอง เป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก 6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา
Mind Map เป็นแผนผัง (Diagram) ใช้เพื่อแสดงคำหรือแนวความคิดของมนุษย์ที่แผ่ออกออกจากศูนย์กลาง ใช้การสื่อความหมายด้วยข้อความและรูปภาพคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้. Mind Map ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจุดกำเนิดหรือจุดเริ่มต้นในการทำงานต่างๆ,การจินตนาการ
Mind Map ช่วยทำให้สิ่งต่างๆ มองภาพได้ง่ายขึ้น อาทิ
• สร้างจากสิ่งที่เป็นนามธรรมสู่รูปธรรม
• ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
• ใช้แก้ปัญหาปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
• ใช้ในการทำการตัดสินใจกรณีมีทางเลือกหลายๆ ทาง
วิธีการเขียนแผนที่ความคิด แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ
แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง แผนที่ ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ
การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map ) การ เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็กเล็กจะเขียนแผนที่ ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้นตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาดหายไป
ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats) เป็นการรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้ คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ส่วนการเรียนการสอนแบบโครงการ เป็นการผสมผสานรูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนแบบลงลึกถึงรายละเอียดในเรื่องที่เด็กสนในและเป็นเรื่องที่เด็ก เลือกเรียนเอง จึงทำให้เด็กมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ กำหนดคำถามที่ตนเองสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบและรับผิดชอบต่องานที่ทำ
ตัวอย่างเช่น วิธีการสอนแบบโครงการจะใช้คำถามที่นำไปสู่การทดลอง เป็นการเรียนการสอนแบบลงปฏิบัติ การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง ส่วนวิธีการสอนแบบหมวก 6 ใบ จะใช้คำถามนักเรียนจะใช้ความคิดนี้ไปใช้ทำอะไร นักเรียนก็จะคิดมองทีละด้าน หลายๆแบบแล้วสรุปเป็นความคิดใหม่ ที่จะสามารถให้นักเรียนมีความรอบคอบและรอบด้านในเรื่องที่ศึกษา
กิจกรรมที่ 13
The Healthy Classroom ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะในปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์นั้นมีการบริโภคแบบว่ามีอะไรที่อยู่ตรงหน้าก็จะต้องกินให้หมด มักจะไม่คิดผลที่ตามมาที่หลังว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา ที่ว่าอาหารที่บริโภคเข้าไปนั้นจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไรกับตัวของเรา หวังแค่อย่างเดียวก็คือว่าจะต้องบริโภคให้อิ่ม เท่านั้นก็สบายใจแล้ว
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
มีบ้างแต่น้อยมากที่จะมีปฏิทินการออกกำลังกายแบบนี้ แต่จะมีบ้างในตอนเย็นที่มีการออกกำลังกายบ้างในเวลาเลิกเรียน
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
การควบคุมอารมณ์หรือการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัยของเด็กว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ในการควบคุม แต่จะเห็นเป็นสานมากเด็กที่มีอายุน้อยนั้นมักควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้สักเท่าไร แต่ถ้าเด็กโตขึ้นมาอีกก็ควบคุมอารมณ์ได้สักนิด
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนั้นยังน้อยกว่า การส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมุ่งให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถจนบางทีลืมคิดไปว่าการสงเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นอาจจะยังน้อยไป ดั้งนั้นควรที่จะให้ความสัมคัญให้เท่าเทียมกัน เพื่อรักษาความสมดุลของเด็ก
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
การที่ครูจะทำความรู้จักกับนักเรียนควรทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆไม่ใช้แค่ใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์จะแยกคนที่มีความเสี่ยงออกมาได้ ส่วนคนที่ครูรู้และทราบประวัติเบื้องต้นถึงเด็กที่มีปัญหาแน่นอนว่าครูย่อมที่จะหาทางช่วยเหลือ หากตัวข้าพเจ้าเองได้เป็นครูจะมีแนวทางช่วยเหลือคือ คนที่มีผลการเรียนอ่อนจะจัดให้อยู่กับกลุ่มคนที่ได้ผลการเรียนดีๆ คนที่สุขภาพไม่ดีครอบครัวมีปัญหาก็จะช่วยอย่างเช่นเสนอชื่อขอรับทุนการศึกษาในโอกาสต่างๆพร้อมให้คำปรึกษาที่จะหาทางแก้ไขต่อไป ส่วนคนที่ได้ผลการเรียนดีนั้นหากจะลดความเสี่ยงเรื่องความเครียดนั้นคิดว่าควรที่จะให้ทำกิจกรรมกับเพื่อนมากๆให้คอยเป็นหูเป็นตาให้กับครูและช่วยเหลือเพื่อนอยู่เสมอ และคอยสั่งสอนว่าวันหนึ่งผลการเรียนอาจตกลงมาได้เป็นเรื่องที่ควรยอมรับไม่ต้องคิดมากทำชีวิตให้สนุกไว้ดีกว่า
6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดูแลช่วยเหลือเด็กและวิธีการให้เด็กนักเรียนมาช่วยงานก็เป็นวิธีที่ดีมากที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดกับครูหากตัวข้าพเจ้าเป็นครูก็จะนำวิธีนี้ไปปรับใช้เช่นกัน
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
ไม่มีความจริงจังมากนัก ดิฉันคิดว่าครูจะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาเช่น การให้ฝึกสมาธิก่อนการเรียนการสอน การเข้าค่ายจริยธรรม และอื่นๆ
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
การประเมินด้านสุขภาพกายและจิตใจมีบ้างแต่มีน้อย ทางควรมีหาวิธีการต่าๆงมาใช้ เช่นการออกกำลังกายตอนเช้าที่หน้าเสาธงเป็นประจำทุกวันเป็นการช่วยให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตั้งแต่เช้า
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
ไม่มีการประเมินที่เป็นแบบมาตรฐานมากนัก มีแค่ครูที่สังเกตอยู่ เช่นการให้ บอกสภาพบรรยากาศของห้องเรียนของโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัยของเด็กว่ามีสภาพอย่างไรตามความรู้สึกของเด็กหากพบว่าเด็กมีความคิดเห็นอย่างเช่นว่า ห้องเรียนไม่ค่อยน่าอยู่ก็จะช่วยกันตกแต่งใหม่ให้ดูมีบรรยากาศที่น่าเรียนยิ่งขึ้นและปลูกจิตสำนึกในการดูแลชุมชนด้วยอีกทางหนึ่ง
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะในปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์นั้นมีการบริโภคแบบว่ามีอะไรที่อยู่ตรงหน้าก็จะต้องกินให้หมด มักจะไม่คิดผลที่ตามมาที่หลังว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา ที่ว่าอาหารที่บริโภคเข้าไปนั้นจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไรกับตัวของเรา หวังแค่อย่างเดียวก็คือว่าจะต้องบริโภคให้อิ่ม เท่านั้นก็สบายใจแล้ว
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
มีบ้างแต่น้อยมากที่จะมีปฏิทินการออกกำลังกายแบบนี้ แต่จะมีบ้างในตอนเย็นที่มีการออกกำลังกายบ้างในเวลาเลิกเรียน
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
การควบคุมอารมณ์หรือการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละวัยของเด็กว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ในการควบคุม แต่จะเห็นเป็นสานมากเด็กที่มีอายุน้อยนั้นมักควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้สักเท่าไร แต่ถ้าเด็กโตขึ้นมาอีกก็ควบคุมอารมณ์ได้สักนิด
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กนั้นยังน้อยกว่า การส่งเสริมวิชาการโดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมุ่งให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถจนบางทีลืมคิดไปว่าการสงเสริมเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนนั้นอาจจะยังน้อยไป ดั้งนั้นควรที่จะให้ความสัมคัญให้เท่าเทียมกัน เพื่อรักษาความสมดุลของเด็ก
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
การที่ครูจะทำความรู้จักกับนักเรียนควรทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆไม่ใช้แค่ใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์จะแยกคนที่มีความเสี่ยงออกมาได้ ส่วนคนที่ครูรู้และทราบประวัติเบื้องต้นถึงเด็กที่มีปัญหาแน่นอนว่าครูย่อมที่จะหาทางช่วยเหลือ หากตัวข้าพเจ้าเองได้เป็นครูจะมีแนวทางช่วยเหลือคือ คนที่มีผลการเรียนอ่อนจะจัดให้อยู่กับกลุ่มคนที่ได้ผลการเรียนดีๆ คนที่สุขภาพไม่ดีครอบครัวมีปัญหาก็จะช่วยอย่างเช่นเสนอชื่อขอรับทุนการศึกษาในโอกาสต่างๆพร้อมให้คำปรึกษาที่จะหาทางแก้ไขต่อไป ส่วนคนที่ได้ผลการเรียนดีนั้นหากจะลดความเสี่ยงเรื่องความเครียดนั้นคิดว่าควรที่จะให้ทำกิจกรรมกับเพื่อนมากๆให้คอยเป็นหูเป็นตาให้กับครูและช่วยเหลือเพื่อนอยู่เสมอ และคอยสั่งสอนว่าวันหนึ่งผลการเรียนอาจตกลงมาได้เป็นเรื่องที่ควรยอมรับไม่ต้องคิดมากทำชีวิตให้สนุกไว้ดีกว่า
6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดูแลช่วยเหลือเด็กและวิธีการให้เด็กนักเรียนมาช่วยงานก็เป็นวิธีที่ดีมากที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดกับครูหากตัวข้าพเจ้าเป็นครูก็จะนำวิธีนี้ไปปรับใช้เช่นกัน
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
ไม่มีความจริงจังมากนัก ดิฉันคิดว่าครูจะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาเช่น การให้ฝึกสมาธิก่อนการเรียนการสอน การเข้าค่ายจริยธรรม และอื่นๆ
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
การประเมินด้านสุขภาพกายและจิตใจมีบ้างแต่มีน้อย ทางควรมีหาวิธีการต่าๆงมาใช้ เช่นการออกกำลังกายตอนเช้าที่หน้าเสาธงเป็นประจำทุกวันเป็นการช่วยให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตั้งแต่เช้า
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
ไม่มีการประเมินที่เป็นแบบมาตรฐานมากนัก มีแค่ครูที่สังเกตอยู่ เช่นการให้ บอกสภาพบรรยากาศของห้องเรียนของโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัยของเด็กว่ามีสภาพอย่างไรตามความรู้สึกของเด็กหากพบว่าเด็กมีความคิดเห็นอย่างเช่นว่า ห้องเรียนไม่ค่อยน่าอยู่ก็จะช่วยกันตกแต่งใหม่ให้ดูมีบรรยากาศที่น่าเรียนยิ่งขึ้นและปลูกจิตสำนึกในการดูแลชุมชนด้วยอีกทางหนึ่ง
กิจกรรมที่ 12
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด)
อยู่ที่ถนนราชดำเนิน เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 1,257 ไร่ ตั้งอยู่หลังสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ “สวนราชฤดี” ในสมัย ร.5 ภายในสวนมีสวนสัตว์เปิด สวนนกนานาชนิด นอกจากสัตว์ปีกแล้วยังมีสัตว์ที่ดุร้ายอย่างเช่นเสือ จรเข้ หมี และชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย สวนสัตว์ทุ่งท่าลาดนับว่าเป็นสวนสัตว์ที่มีความกว้างใหญ่ไม่แพ้กับสวนสัตว์อื่น ๆ และยังมีสวนสุขภาพ และยังมีสัตว์อีกมากมาย อีกหลายหลายชนิด
ทุ่งท่าลาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนสัตว์ทุ่งท่าลาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีบรรยากาศสดใส และอากาศบริสุทธิ์น่าจะเป็นที่ผักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ทุก ๆวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวมากันเยอะมากส่วนใหญ่แล้วจะมากันเป็นครอบครัว เพื่อไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวในสวนสัตว์เปิดของทุ่งท่าลาด สัตว์ที่น่าสนใจมีมากมายหลายพันธุ์ แต่สัตว์ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือนกชนิดต่าง ๆ
รวมทั้งทะเลสาบซึ่งเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำที่อพยพมาจากถิ่นอื่นในช่วงมกราคมถึงมีนาคม ของทุกปี และยังมีอาคารที่มีการจัดแสดงเป็น "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ"
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งช่วยสืบสานประเพณีอันดี นั่นคือ จะถูกใช้เป็นที่จัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ในเดือนกันยายนของทุกปี และมีการแสดงคอนเสิร์ตภายในอาคาร "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ" ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งภายในจังหวัดตลอดจนในประเทศ
พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่ในอาคารวีรไทย ในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ถนนราชดำเนิน จัดแสดงเกี่ยวกับเมืองนครฯ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน ความรู้เรื่องชื่อเมือง ตรา 12 นักษัตร (ตราประจำเมือง) การตั้งถิ่นฐานของผู้คน การรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมจากต่างแดน ความสำคัญของนครฯ ในฐานะเมืองท่า ประวัติสังเขปของบุคคลสำคัญเมืองนครฯ เรื่องราวทางศาสนา เช่นศาสนสถานต่างๆ เรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น เหตุการณ์สำคัญของชาวเมืองนครฯ และนิทรรศการหมุนเวียน
พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ ภายในบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด)
อยู่ที่ถนนราชดำเนิน เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 1,257 ไร่ ตั้งอยู่หลังสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ “สวนราชฤดี” ในสมัย ร.5 ภายในสวนมีสวนสัตว์เปิด สวนนกนานาชนิด นอกจากสัตว์ปีกแล้วยังมีสัตว์ที่ดุร้ายอย่างเช่นเสือ จรเข้ หมี และชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย สวนสัตว์ทุ่งท่าลาดนับว่าเป็นสวนสัตว์ที่มีความกว้างใหญ่ไม่แพ้กับสวนสัตว์อื่น ๆ และยังมีสวนสุขภาพ และยังมีสัตว์อีกมากมาย อีกหลายหลายชนิด
ทุ่งท่าลาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนสัตว์ทุ่งท่าลาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีบรรยากาศสดใส และอากาศบริสุทธิ์น่าจะเป็นที่ผักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ทุก ๆวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวมากันเยอะมากส่วนใหญ่แล้วจะมากันเป็นครอบครัว เพื่อไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวในสวนสัตว์เปิดของทุ่งท่าลาด สัตว์ที่น่าสนใจมีมากมายหลายพันธุ์ แต่สัตว์ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือนกชนิดต่าง ๆ
รวมทั้งทะเลสาบซึ่งเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำที่อพยพมาจากถิ่นอื่นในช่วงมกราคมถึงมีนาคม ของทุกปี และยังมีอาคารที่มีการจัดแสดงเป็น "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ"
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งช่วยสืบสานประเพณีอันดี นั่นคือ จะถูกใช้เป็นที่จัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ในเดือนกันยายนของทุกปี และมีการแสดงคอนเสิร์ตภายในอาคาร "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ" ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งภายในจังหวัดตลอดจนในประเทศ
พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่ในอาคารวีรไทย ในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ถนนราชดำเนิน จัดแสดงเกี่ยวกับเมืองนครฯ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน ความรู้เรื่องชื่อเมือง ตรา 12 นักษัตร (ตราประจำเมือง) การตั้งถิ่นฐานของผู้คน การรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมจากต่างแดน ความสำคัญของนครฯ ในฐานะเมืองท่า ประวัติสังเขปของบุคคลสำคัญเมืองนครฯ เรื่องราวทางศาสนา เช่นศาสนสถานต่างๆ เรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น เหตุการณ์สำคัญของชาวเมืองนครฯ และนิทรรศการหมุนเวียน
พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ ภายในบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)