วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่5

  สี่งที่ได้ 
     ต้นแบบในบทความนี้มีหลายแบบคือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดีก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ เกิดครูดีศิษย์ก็ดี ต่อเนื่องขยายวงการต่อๆไปผู้ที่มีวิญญาณต้นแบบแห่งการเรียนรู้ย่อมจะไม่เหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด
    จุดเริ่มต้นแห่งแรงบันดาลใจในชีวิตู้ดูแบบ คือการได้รู้ ได้เห็นต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  หากเราเผยแพร่ในสิ่งที่ไม่เหมาะสมต้นแบบของการกระทำในสิ่งที่ไม่ดีก็จะเกิดผลเสียตามมาทำให้ประเทศเราเกิดการเสื่อมเสียได้
      ดังนั้นครูต้นแบบควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ได้ เพื่อให้ศิษย์ได้กระทำตาม เพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ
ประโยชน์ในการพัฒนา
   นำสิ่งดีๆในบทความนี้ที่ได้กล่าวถึงคือ เป็นต้นแบบที่ดี ปฏิบัติสิ่งใดก็ควรคิดก่อนว่าสิ่งที่ได้กระทำไปนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่

กิจกรรมที่4

ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
          ผู้นำจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี จะต้องมีวิธีการในการทำงาน มีเป้าหม้ายในการทำงานเพื่อจะได้งานตามที่วางไว้ ต้องอาศัยการทำงานแบบเป็นทีมฟังความคิดของผู้อื่น  ไม่เอาความคิดของตนเป็นใหญ่ มีความรับผิดชอบ เป็นที่ยอมรับของผู้ที่อื่น  มีความคิดสร้างสรรค์ มีความซื่อสัตย์  มีคุณธรรมจริยธรรม   ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนั้นก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นก็มีโอกาสที่จะสำเร็จมากที่เดี่ยว แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้คือปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้คือ คุณสมบัติในเรื่องการเป็นผู้ให้ผู้นำที่แท้คือผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่สำหรับผู้นำแท้ที่จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการนั้นคือ การมองชัยชนะในฐานะที่เป็นรางวัลของทุกคนที่ต้องการจะเห็นทุกคนก้าวเดินไปพร้อมกันอย่างมีความสุข

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

เชื้อชาติ ไทย     
สาขา จิตรกร
การศึกษา/ฝึก วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร
รางวัล  รางวัลศิลปาธร ปี พ.ศ. 2547


1.ประวัติส่วนตัว

เป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุขทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะไทยประยุกต์ หรือศิลปะสมัยใหม่


2.ผลงาน
การแสดงผลงาน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
  • พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
  • พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายบ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน

รางวัลและเกียรติยศ



 3.เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
            ผลงานของท่านนั้นเป็นที่น่ายกย่องที่ท่านนั้นได้วาดภาพที่มีเอกลักษณ์ในตัวที่บุคคลส่วนมากแล้วทำไม่ได้และผลงานของท่านนั้นไม่มีใครที่จะนำมาเลียนแบบได้เพราะท่านนั้นได้วาดภาพโดยไม่มีใครที่จะทำตามท่านได้



วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการศึกษา
ทฤษฎีของมาสโลว์
ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
          จากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ สรุป เพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
แนวปฏิบัติ
1. เน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระสารมารถสรุปและสร้างความรู้ใหม่ๆได้จากข้อมูลได้
3. นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ครูคือผู้อำนวยความสะดวก
4. เน้นการปฏิบัติควบคู่กับหลักการและทฤษฎีมีกรอบแนวคิด หลักการ สู่การปฏิบัติ
5. เน้นวิธีสอน การเรียนรู้ ให้หลากหลาย
6. กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าเนื้อหา
7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดมากกว่าการหาคำตอบที่ตายตัวเพียงคำตอบเดียว
8. ใช้กระบวนการกลุ่ม ในการเรียนรู้ ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ดังนั้น ผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดการเรียนรู้ให้หลากหลายวิธี ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในสังคม

กิจกรรมที่1

            การบริหารการศึกษา ปัจจุบันนี้เราต่างตระหนักดีว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติ ยิ่งประเทศมีผู้ได้รับการศึกษาในระดับสูงโดยเฉพาะทางด้านที่เป็นที่ต้องการมากเท่าใด ประเทศก็จะมีศักยภาพในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ผลงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติมีความรู้และความสามารถเป็นอย่างดี เมื่อประชาชนมีความรู้มากขึ้น มีความเข้าใจในความถูกผิดชั่วดีมากขึ้น การกระทำผิดกฎหมายและจริยธรรมก็อาจจะลดลง และทำให้ประเทศมีความระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นสูงขึ้นตามไปด้วย
การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง

ชื่อ               นางสาวปรีดา  ดาบแสงทอง
ชื่อเล่น         ด๊ะห์
การศึกษา     ป.6   โรงเรียนบ้านคลองดิน
                     ม.3   โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ
                     ม.6   โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ
ปรัชญา         ฝันให้ไกล   ไปให้ถึง
ปัจจุบัน         กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีปีที่3   หลักสูตรสังคมศึกษา คณะครุศาตร์